บทที่ 14 การร่วมประชุม-2
(Participating-2)
ในการประชุมนั้นนอกจากจะเป็นโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับสอบถามผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และเสนอคำแนะนำอีกด้วย คำพูดที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ควรทราบ ได้แก่
การสอบถามความคิดเห็นของที่ประชุม
- Has anybody any comments to make?
- What’s the general view on that?
- I’d like to know the general feeling about that?
- Any reaction to that?
- What’s the meeting’s opinion/view on that?
- Do you think we should ...?
- Do any of you have any suggestions?
- How do you think we should do this?
- What would you suggest?
- Any suggestions?
การสอบถามความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
- What are your opinion about views on ...?
- What do you think about ...?
- What are your feelings about ...?
- What’s your position on ...?
- I’d like to have your opinions about/views on ... .
- I’d like to hear your ideas on this.
- How do you see this?
คำพูดที่ใช้สำหรับเสนอคำแนะนำต่อที่ประชุมนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ คำเสนอที่ค่อนข้างหนักแน่นและรุนแรง คำเสนอแบบกลางๆซึ่งฟังดูสุภาพและไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นการบังคับให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม และคำเสนอที่แฝงไว้ซึ่งความรู้สึกลังเลไม่แน่ใจของผู้พูดเอง การจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับหลักฐานและเหตุผลที่เรามีสนับสนุนข้อเสนอนั้นๆ
คำเสนอ/คำแนะนำที่หนักแน่น
- We must ... .
- Our only solution is to ... .
- คำนามหรือกริยาช่อง 1 + ing is our only solution.
- There is/I see no alternative but to ... .
คำเสนอ/คำแนะนำโดยทั่วๆไป
- (I think) we should/ought to ... .
- I would suggest that we ... .
- I recommend that we (should) ... .
- My recommendation/suggestion is that ... .
คำเสนอ/คำแนะนำที่แสดงถึงความไม่มั่นใจ
- It might be a good idea to/if we ... .
- We could ... .
- How/What about ... .
การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนั้นเราอาจพูดให้ที่ประชุมรับทราบได้ 2 วิธี คือ การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยแบบมาตรฐาน (มักใช้กับที่ประชุมระดับสูง เช่น ระดับฝ่ายหรือระดับบริษัท) และอย่างไม่เป็นทางการมากนัก ซึ่งหากจะใช้วิธีหลังนี้ต้องพิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่เสียก่อน (อาจจะเหมาะกับการใช้กับที่ประชุมระดับล่าง ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมเพียงไม่กี่คน เช่น การประชุมของแผนก เป็นต้น)
การเห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน
- I’m (completely) in favor of that (suggestion/recommendation/etc.).
- I have (absolutely) no objection.
- That’s a (very) good idea.
การเห็นด้วยแบบไม่เป็นทางการ
- Great/Good idea.
- Excellent.
- Sounds good/fine.
- OK/Fine by me.
การไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน
แบบถนอมน้ำใจ
- I accept your point/reasoning but ... .
- I appreciate your views/reasoning but ... .
- That’s a good idea but ... .
แบบตรงไปตรงมา
- I’m afraid. I can’t accept that.
- I’m sorry, but that (idea/suggestion) is not quite practical.
- I’m sorry. I have reservations about that.
การไม่เห็นด้วยแบบไม่เป็นทางการ
- I can’t/don’t accept that.
- I’m against that (idea/suggestuib/etc.)
- That’s out of the question.
สถานการณ์ตัวอย่าง
การสอบถามความเห็นของแต่ละบุคคล
- Jack, what are your views on our plan to reduce production?
- What do you think about our new TV ads?
ข้อเสนอ/คำแนะนำที่หนักแน่น
- We must hedge and halt investment for the next three months.
- Reducing prices is our only solution in a time like this.
ข้อเสนอ/คำแนะนำโดยทั่วๆไป
- + I think we should get rid of our existing inventory.
- + I would suggest that we maintain the present status.
ข้อเสนอ/คำแนะนำที่แสดงถึงความไม่มั่นใจ
- + It might be a good idea to sell off some stocks.
- + We could put our production on hold for a week.
การไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน
- I accept your point, but I don’t think we could wait that long.
- That’s a good idea but we can’t afford it at the moment.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น