บทที่ 19 การซักซ้อมความเข้าใจซึ่งกันและกัน
(Clarification)
ระหว่างที่มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเสนอทางธุรกิจ คู่สนทนาทั้งสองฝ่ายจำเป็นที่จะต้องทราบให้แน่ชัดว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังยื่นข้อเสนออะไรอยู่ และการซักซ้อมทำความเข้าใจระหว่างกันอีกครั้งจะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าความเข้าใจเดิมที่มีอยู่นั้นถูกต้องแล้วหรือคลาดเคลื่อนไป และเป็นการให้โอกาสยืนยัน แก้ไข หรืออธิบายเพิ่มเติมสิ่งที่ได้พูดไปแล้วอีกด้วยก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ประโยคคำพูดที่ใช้ในขั้นตอนสำคัญนี้แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังต่อไปนี้
การขอให้คู่สนทนาชี้แจงเพื่อให้ข้อเสนอ/ข้อมูล กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
- (So,) if I understand you correctly, you feel that ... .
- (So,) if I’m not mistaken, you’re saying/proposing that ... .
- You mean ..., then.
- Do you mean ... when you say ...?
- Am I correct in understanding that ...?
- Is it my correct understanding that ...?
การตอบรับ/การแก้ไข และการอธิบายเพิ่มเติม
- That’s right/correct. Besides that, ...
- Exactly. What’s more is/are ...
- Moreover, ...
- That’s exactly/quite right/correct. Actually, ...
- That (really) isn’t so. What I meant is ...
- That’s not quite what I meant.
หลังจากที่ฝ่ายหนึ่งมีโอกาสชี้แจงไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องแสดงท่าทีให้ทราบว่ามีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรเพื่อเป็นสัญญาณให้เขาทราบว่าควรจะทำอะไรต่อไป
ค่อนข้างเห็นด้วย/เข้าใจในสิ่งที่ได้พูดมา
- I see what you mean.
- I see your point.
- That’s certainly worth considering.
สงวนท่าที/ยังมีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งอยู่
- I appreciate that, but ...
- I take your point(s) about ..., however, ...
- I’m not (quite) sure how practical/realistic that would be.
สถานการณ์ตัวอย่าง
- Jeff: If I understand you correctly, you feel that our delivery schedule should be adjusted to your production timetable.
David: That’s right.
- Mitch: Am I correct in understanding that the whole sale package includes training and maintenance?
Butch: That’s right. Besides that, we will also provide free repair for the next two years.
Mitch: That’s certainly worth considering.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น