วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

การใช้คำกริยาเน้นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ VOICE 1


3 การใช้คำกริยาเน้นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ (1) (VOICE (1))

คำกริยาหลัก (ดูภาค 2 ข้อ 1.1) นอกจากจะถูกแบ่งออกเป็นกริยา 2 ช่องและกริยา 3 ช่องแล้ว ยังสามารถแบ่งออกเป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ (transitive verb) เช่น eat, touch, throw ฯลฯ และกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (intransitive verb) เช่น walk, sleep, play ฯลฯ สำหรับกริยาที่ต้องมีกรรมมารับนั้นเราอาจเลือกที่จะใช้ในประโยคได้ 2 ลักษณะคือ

1. active voice คือประโยคที่เน้นผู้กระทำ (ประธาน) เป็นหลัก เช่น
I threw a football. They are playing baseball.

2. passive voice คือประโยคที่เน้นผู้ถูกกระทำ (กรรม) เป็นหลัก เช่น
A football was thrown. Baseball is being played.

โดยปกติแล้วเราจะใช้ active voice ในภาษาพูดและภาษาเขียนเสียเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) ส่วน passive voice นั้นมักจะใช้กันบ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำ หรือเมื่อต้องการจะเน้นสิ่งที่ถูกกระทำมากกว่าผู้กระทำ เช่น John Lennon was shot. (คนไม่รู้จักหรือไม่สนใจด้วยว่าผู้ยิงเป็นใครมาจากไหนที่สำคัญคือนักร้องขวัญใจของพวกเขาถูกยิง)

CONVERSATION 1
A: The window is broken.
B: Who did that?
A: Jack probably did it.

CONVERSATION 2
A: Many pages in this book have been torn off.
B: I wonder who did it?
A: It was probably Jack.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น